วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียนกับอาจารย์ ฉันทนา เนื่องจากสัปดาห์ ที่แล้ว ที่เป็นสัปดาห์แรก อาจารย์ยังไม่มาสอน
เมื่อมาเจอ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องทำการทักทาย ทำความรู้จัก

จากนั้นก็เริ่มการเข้าสู่เนื่อหา อาจารย์ได้พูดถึงการก้าวไปสู่ ครูชำนาญการ/ครูชำนาญการพิเศษ
เพื่อเกี่ยวเนื่องจากการจะได้รับขั้นพวกนี้ เรานั้นต้องมีภาวะความเป็นยผู้นำ

แล้วพูดถึงการที่จะเป็นผู้นำ นั้น จะต้อง มีสมรรถนะที่ดี
สมรรถนะนั้นหมายถึง การมีความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
ซึ่ง คำว่า สมรรถนะ นี้ มีความหมายของภาษาอังกฤษ ว่า Compentence/competency

เมื่อผมกลับมา ผมได้หาความหมายของ competency ซึ่งได้ความหมายว่า


Competency หรือเรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น
Core Competency คือ คุณลักษณะที่ทุกคนในองค์การพึงมี กำหนดโดยการวิเคราะห์ค่านิยม วัฒนธรรมองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเสริมรับกับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของการดำเนินงาน
Functional competency คือคุณลักษณะที่บุคคลพึงมีในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่หนึ่งๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จ แบ่งเป็น common Functional competency คือสมรรถนะในการปฏิบัติงานในกลุ่มงานหนึ่งๆ และ specific functional competency คือสมรรถนะในการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานเฉพาะ
ทำไมต้องกำหนดและประเมิน competency
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความสามารถตามมาตรฐานตำแหน่งงานตามวุฒิการศึกษา หรือตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้ดี รวมทั้งอาจไม่ตอบสนองต่อภาวะการอยู่รอดขององค์กรในสถานการณ์การแข่งขันที่องค์กรต้องเผชิญ จึงต้องมีการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จะทำให้ปฏิบัติงานได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และตอบสนองต่อทิศทางที่องค์กรมุ่งหวัง

วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการกำหนดและประเมิน competency
เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ (เป็นวัตถุประสงค์หลักของภาควิชาฯ)
เป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่ขั้นตอนปฏิบัติ
มีเกณฑ์มาตรฐานการวัดผลอย่างเป็นระบบ
เพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกและคัดสรรบุคลากรที่ดีและเหมาะสม
เป็นเกณฑ์ในการวัดจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร

แล้วอาจารย์ก็บอกอีกว่า competency แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่เราสามารถมองเห็นได้ เช่นทักษะ ความรู้
อีกส่วนคือส่วนที่มองไม่เห็น แต่สาราถรรับรู้ได้ด้วยจิตใจ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ ลักษณะเฉพาะ แรงขับ เป็นต้น

ส่วน competencies ของผู้นำที่ควรจะมี คือ
1 ความคิดริ่เริ่ม
2 การทำงานเป็นทีม
3 การจูงใจ
4 การสื่อสาร
5 การวิเคราะห์
6 ความอดทนต่อสภาพความถนัด
นั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น