วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2505 ให้ความหมายของคำว่า ”บุคลิกภาพ” หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคนบุคลิกภาพมาจากคำภาษาอังกฤษ “ Personality“ แปลได้คือ “ความเป็นเฉพาะคน” ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีก คือ “Persona” หมายถึง “หน้ากาก” คือ ไม่ใช่หน้าอันแท้จริงหมายความว่าคนเรานั้นสวมหน้ากากเข้าหากันเข้ากันไม่ได้แสดงหน้าอันแท้จริงของตน (เปลื้อง ณ นคร, 2515)

คาทเทลล์ (cattell.R.B.) หึความหมายไว้ว่า บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ทำพฤติกรรม หากตกไปอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของบุคคล รวมทั้งการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม

การ์ดอน อัลพอร์ต (1961: 28) กล่าวไว้ว่าบุคลิกภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นตัวกำหนดการแสดงอุปนิสัยและความนึกคิดของบุคคลนั้น ๆ ในการที่จะปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่ในที่นี้ใคร่ขอให้ความหมายของบุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งด้านรูปร่างหน้าตา ท่าทางถ้อยทีวาจา อุปนิสัยใจคอ อารมณ์ และการแสดงออกที่ปรากฏแก่สายตาของบุคคลอื่น ซึ่งมีความสำคัญต่อบุคคลนั้น ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน และในสังคมทั่วไป

บุคลิกภาพของบุคคลสามารถแสดงให้เห็นได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

1. ลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้แยกเป็น

1.1 ลักษณะที่ตกทอดมา หรือที่เรียกว่าเป็นมรดกทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ปู่ย่า ตายาย ติด
ตัวมา อันได้แก่ รูปร่างหน้าตา ท่าทีที่คล้ายคลึงกับพ่อแม่ หรือปู่ย่า ตายาย เข้าทำนอง
“ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

1.2 รูปร่างลักษณะ เช่น ความสูง ความเตี้ย ผิวขาว ผิวดำ ตัวเล็ก ตัวใหญ่ หน้ากลม หนายาว
เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ยาก แม้จะสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้บ้างก็พียงเล็กน้อย
เท่านั้น

1.3 การอบรมเลี้ยงดูในขณะเยาว์วัย การอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับมาในขณะเยาว์วัยจาก
บุคคลใด ย่อมมีแนวโน้มในการที่เด็กจะรับลักษณะบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยจากบุคคล
นั้น ๆ มาด้วย

2. ลักษณะบุคลิกภาพที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

2.1 ลักษณะท่าทางซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากฝึกฝนวิธีที่ถูกต้อง

2.2 ด้อยคำ การพูด การเจรจา

2.3 พฤติกรรม หรือ การกระทำ และ

2.4 การตบแต่งร่างกาย

แนวความคิดทางบุคลิกภาพ

ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรียนที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพแระกอบด้วย 3 ระบบ คือ “ Id” , “Ego” และ “Superego” ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้จะเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด การแสดงพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์จะเป็นผลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในระหว่างสามระบบดังกล่าว

Id เป็นแหล่งรวมแรงขับ แรงกระตุ้น ความปรารถนา และสัญชาติญาณทั้งหลาย เป็นแหล่งสะสมพลังทางจิตใจ ”Id” จะไม่สามารถอดกลั้นหรือทนต่ออารมณ์ที่ปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้น หรือเพิ่มขึ้นในขณะนั้นได้ และเมื่อใดที่ระดับความปรารถนา หรือความไม่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นจากสิ่งเร้าภายนอกหรือสิ่งเร้าภายในที่มากระตุ้นก็ตาม Id จะตอบโต้ทันทีเป็นการปลดปล่อยความเครียดเพื่อให้สภาพจิตใจกลับเข้าสู่ความสบายใจ ความพอใจ ในสภาพปกติ โดยสรุป Id จะแสวงความสุขความพอใจโดยปราศจากขอบเขตใด ๆ ทั้งสิ้น มนุษย์มี Id ติดตัวมาแต่กำเนิด

Ego เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่สนองความต้องการของ Id โดยยึดเหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นหลัก นอกจากนี้ Ego ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางจัดการระหว่างความต้องการที่ไร้เหตุผลของ Id กับสภาพความจริงของโลกภายนอก Ego จะเป็นตัวเหนี่ยวรั้ง Id

Superego คือส่วนคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันดีงามที่มนุษย์ได้รับการปลูกฝังมาจากการอบรมสั่งสอน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา การทำงานทั้ง 3 ระบบ จะเกี่ยวข้องกัน บางครั้งจะสอดคล้องกัน บางครั้งขัดแย้งกัน Ego จึงเปรียบเสมือนัวกลางสนองความต้องการของพลังความต้องการโดยธรรมชาติของมนุษย์ และควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ให้อยู่ในขอบเขตการยอมรับของสังคมนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพ จะถูกมองเป็นภาพรวมมากกว่าที่จะถูกมองแยกส่วน โดยมี Id เป็นองค์ประกอบทางร่างกา Ego เป็นองค์ประกอบด้านจิตใจ และ Superego เป็นองค์ประกอบทางสังคม ในบางครั้ง 3 ระบบจะขัดแย้งกัน หรือสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งในจิตใจ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล แต่ธรรมชาติจะช่วยให้มนุษย์ลดความวิตกกังวลลงได้ โดยผ่านกลไกป้องกันทางจิต อันเป็นกลไก โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่จะช่วยคลายความวิตกกังวลและความเครียดลง หากพลังทั้งสามขัดแย้งกันมาก ๆ อาจแสดงออกในรูปการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือการมีพฤติกรรมแปรปรวนต่าง ๆได้

คาร์ล จี จุง (Carl,G,Jung) นักจิตวิทยาบุคลิกภาพที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง แยกประเภทบุคลิกภาพเป็น 2 ประเภท คือ

1. บุคลิกภาพประเภทชอบสังคม หรือชอบแสดงตน บุคคลที่มึกบุคลิกภาพประเภทนี้จะเป็นผู้ที่คล่องแคล่ว วิ่งไวอยู่ตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเด่น ชอบแสดงตนเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นตัวของตัวเอง ชอบการเป็นผู้นำ ยอมรับสภาพความจริง มองโลกในแง่ดี กล้าแสดงออก เปิดเผยไม่เก็บตัว ชอบพูดคุย ชอบร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ชอบงานสังคม คิดอะไรจะแสดงออก มีเพื่อนมาก และชอบการเป็นผู้นำ เมื่อเผชิญกับปัญหาจะใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการสู้ปัญหา หรือกล้าเผชิญกับปัญหา

2. บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว ลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบแสดงตน ชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว คิดมาก รับไม่ได้หากถูกวิจารณ์ คิดอะไรจะเก็บไว้คนเดียวไม่ชอบพูดคุย ส่วนใหญ่เป็นคนยึดมั่นในกฎเกณฑ์กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อใช้ควบคุมตนเอง การกระทำกิจกรรมใด ๆ ขึ้นอยู่กับตนเองเป็นหลัก จะผูกพันใกล้ชิด หรือกับตนเองมากกว่าที่จะผูกพันกับสังคม มีเพื่อนน้อย ไม่ชอบการเป็นผู้นำ

อัลเฟรด อัตเลอร์ (Alfred Adler) นักจิวิทยาบุคลิกภาพชาวออสเตรียน ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง เชื่อ
ว่าอิทธิพลทางสังคมจะมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเป็นเช่นใดขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางสังคมรอบตัวบุคคลนั้น อันได้แก่ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับจากครอบครัว การที่บุคคลพัฒนาปรับปรุงตัวเองหรือต้องการขวนขวายสร้าง หรือดิ้นรนไปหาสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตนั้น เป็นการแสวงหาความสมบูรณ์ให้กับชีวิตของบุคคลเอง และเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย คือ ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตแล้ว จะเกิดความแตกต่างจากบบุคคลอื่น คือจะมีความเป็นตัวของตัวเองขึ้น มีความเข้าใจ และยอมรับตัวเอง การดิ้นรนไปสู่สิ่งที่ดีที่สุในชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมุ่งมั่นปรารถนา อัตเลอร์ยังได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล อัตเลอร์ เชื่อว่าแรงกระตุ้นให้มนุษย์ก้าวไปสู่การมีพฤติกรรมด้านบวกในสังคม การที่จะกระตุ้นเพื่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องได้รับการอุ้มชูเลี้ยงดูมาอย่างดีตั้งแต่ในวัยเด็ก บรรยากาศของครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความมีใจกว้าง การยอมรับสังคมขึ้น หากขาดจะก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านสังคม เกิดความต้องการแสดงอำนาจเหนือหรือมีความก้าวร้าวต่อบุคคลอื่น และสิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว ขาดความมีจิตสำนึกต่อสังคมในอนาคตซึ่งถือว่าเป็นอาการของความผิดปกติทางบุคลิกภาพประเภทหนึ่ง

สรุป บุคลิกภาพมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ต่ออาชีพการงาน ของบุคคล หากบุคคลใดที่เติบโตมาในครอบครัวที่บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่น มีความเข้าใจความต้องการของลูกในแต่ละวัย และช่วยส่งเสริมการพัฒนาในแต่ละขั้นพัฒนาไปได้ด้วยดี ก็จะมีผลทำให้บุคคลนั้นเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิต ที่ดี มีความมั่นใจในตนเองเป็นผู้ที่มีเหตุผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มองโลกในแง่ดี ในทางตรงข้าม หากบุคคลนั้นเติบโตมาในครอบครัวที่บิดามารดาไม่มีเวลาใกล้ชิดลูก ไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เห็นความสำคัญของการช่วยส่งเสริม ภาระตามขั้นพัฒนาในแต่ละวัยแล่วจะทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นผู้ที่มีปัญหา มีความก้าวร้าว ขาดความเชื่อมั่น ขาดเหตุผล เห็นแก่ตัว เห็นแต่ประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของบุคลิกภาพอันมีผลมาจากการได้รับการอบรมปลูกฝังมาตั้งแต่เยาว์วัยแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังเสริมสร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยอันดีงามลงไว้ตั้งแต่ในวัยเด็ก บุคคลผู้รับผิดชอบก็คือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มรับการขัดเกลาทางสังคม รับการปลูกฝังมาตั้งแต่แรกเกิด และช่วงที่สำคัญยิ่งของการขัดเกลาทางสังคมอยู่ในช่วงวัย 0-5 ปี เด็กจะค่อย ๆ พัฒนาความเข้าใจในนามธรรม และยอมรับค่านิยมต่าง ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กเริ่มเติบโตขึ้น ค่านิยมพื้นฐานที่เด็กได้รับการปลูกฝังมานี้จะเป็นกรอบมาตรฐานสำหรับตัวเด็กเองที่ยึดเป็นแนวประกอบการตัดสินเลือกค่านิยมที่เป็นนามธรรมที่สูงขึ้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้น “วัย” จะช่วยสร้างและปรุงแต่งบุคลิกภาพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะพยายามแสวงหาตนเอง เป็นตัวของตัวเองสร้างค่านิยมของตัวเองขึ้น และสร้างบุคลิกภาพของตนเองขึ้น เด็กเริ่มต้องการอิสระจากครอบครัว ชีวิตจะเกี่ยวข้องกับเพื่อนฝูงโดยเฉพาะ “กลุ่มเพื่อน” และเพื่อนต่างเพศและในที่สุดก็จะมีคู่ชีวิตของตนเอง

เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของบุคลิกภาพมาพอสมควรแล้ว ใคร่จะขอกล่าวต่อไปถึงเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ หรือภาวการณ์เป็นผู้นำ

ที่มา: www.prdnorth.in.th/transparency/docs/IQ_MQ.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น