วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคระห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

ในการนี้เราได้สังเกตบุคลิกและพฤติกรรมของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี ว่าท่านมีภาวะผู้นำตามหลักทฤษฎีภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งผู้นำนั้นควรมีพฤติกรรมทั้ง 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์
2. วางแผน
3. กำหนดกรอบงาน
4. เต็มใจที่จะเสียง
5. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
6. เอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้อง
7. มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมาก
8. มีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ
9. มีความชำนาญ

ซึ่งที่กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี นั้นได้มีครบหมดทั้ง 9 ข้อเลย กล่าวคือ

1. กำหนดวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ คือการมองภาพอนาคต และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้แสดงออกมา อย่างเห็นได้ชัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการว่างแผน เพื่อนำไปสู่ จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ ในอนาคต อาธิเช่น ที่ท่านบอกว่า ท่านจะมุ่งหน้าเรียน อย่างจริงจัง จนถึงอายุ 30 ปีเป็นต้น


2. วางแผน
การวางแผนเป็นการพิจารณาและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันและ เป็นการคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ซึ่งในส่วนนี้ท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ท่านได้แสดงออกมาให้เราเห็นอย่างชัดเจน ในการวางแผนการดำเนินชีวิตของท่าน จะเห็นได้ว่าท่านได้สอน ให้เรานั้นรู้จักวางแผนโดยให้เรารู้จักรู้ที่ต้องรู้ รู้ที่ควรรู้ แล้วก็รู้ไว้ใช่ว่า แล้วดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย นั้นเอง


3. กำหนดกรอบงาน
คือการวางขอบเขตของการทำงาน หรือการทำภารกิจสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยมี การจัดการลำดับอย่างชัดเจน เช่น ความกว้างของเนื้อหา
ซึ่งท่านก็ได้กำหนดกรอบงานของท่านอาทิเช่น ท่านมักกล่าวไว้ว่า “คนเราไม่จำเป็นจะต้องรู้ทุกเรื่อง คนเราควรรู้ลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วรู้อื่นแบบพอรู้คือแบบรู้ไว้ใช่ว่า” ซึ่งนี่ก็เป็นแบบการกำหนดกรอบงานของท่านนั่นเอง หรืออย่างที่ท่านได้มาเทศน์ในเรื่อง “จิตวิญญาณความเป็นครู” ท่านก็ได้เทศน์โดยมีกรอบงาน หรือกรอบเนื้อหาอย่างชัดเจน


4. เต็มใจที่จะเสี่ยง
การเสี่ยง หมายถึง “โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ภาษาง่าย ๆความเสี่ยง คือ สิ่งต่าง ๆที่อาจกีดกันการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายนั้นเอง
ซึ่งในการนี้ไม่ว่าใครๆ ก็มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งในการที่ท่าน ได้มาเทศน์ครั้งนี้ก็อยู่ในความเสี่ยง คือ เสี่ยงกับการที่จะมีคนเชื่อฟังในสิ่งที่ท่านสอน เสี่ยงต่อการที่บางคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านเทศน์ นั้นเอง แต่เราก็ควรพยายามทำความเสี่ยงนี้ให้น้อยที่สุด โดยใช้ปัญญา


5. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
ความแน่ใจหรือมั่นใจหรือความกล้าที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามที่กำหนดไว้หรือตั้งใจไว้แม้จะมีเหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดมาเป็นอุปสรรค ก็ไม่ท้อถอย แต่ยังคงตั้งใจกระทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ
ซึ่งในส่วนนี้เราก็เห็นอยู่อย่างชัดเจน เพราะหากท่านไม่มีความมั่นใจในตนเองสูง ท่านคงไม่อาจมายืนอยู่ในจุดนี้ได้ ท่านนั้นเป็นคนที่ มีความมั่นใจในตนเองสูงกล้าทีจะตัดสินใจ กล้าที่จะคิด กล้าที่พูด กล้าที่กระทำ มีความมั่นคง มีเหตุผล รอบคอบ มีแผนงาน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ นั้นเอง ที่แสดงให้เห็นว่าท่านนั้นมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง


6. เอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้อง
คือการรู้จักดูแลเอาใจใส่ลูกน้อง มีความเป็นกัลญาณมิตรกับทุกๆ คนที่เป็นลูกน้อง เห็นลูกน้องเปรียบเสมือนญาติคนหนึ่งในครอบครัว ที่มีความเท่าเทียมกัน ให้โอกาส ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ที่รู้จักดูแลบริวารของท่าน อย่างเช่น ตอนนี้ท่านได้สร้างโรงเรียนสงฆ์ เพื่อเป็นสถานศึกษาของสามเณรและพระสงฆ์ ที่ท่านได้ดูแล โดยท่านก็จะหาปัจจัย เพื่อไปพัฒนาโรงเรียน และ สื่อการเรียนการสอนให้เทียบเท่าและทันสมัย กับโรงเรียนที่สอนทางโลกตลอด เพื่อที่จะได้ให้สามเณรและพระสงฆ์ ที่อยู่ในการดูแลของท่านได้รับความรู้อย่างเต็มที่ เหมือนกับผู้ที่เรียนในทางโลก
ซึ่งนี่ก็คือการเอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้องที่ท่าน ว.วชิเมธี มี่ต่อสามเณรที่เปรียบเสมือนบริวารของท่าน


7. มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมาก
คือทักษะที่ผู้ส่งต้องมีความสามารถในการเข้ารหัสสาร มีการพูดโดยการใช้ภาษาพูดที่ถูกต้อง ใช้คำพูดที่ชัดเจนฟังง่าย มีการแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่เข้ากับการพูด ท่วงทำนองลีลาในการพูดเป็นจังหวะ น่าฟัง
ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธีนั้น มีอย่างเต็มเปี่ยม เพราะ ท่านเทศน์ ทีไร ก็มีแต่คนสนใจ ฟังแล้วไม่น่าเบื่อ เพื่อแล้ว มีจิตใจที่สามารถคิดตามได้ นั้นเอง


8. มีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ
ความน่าเชื่อศรัทธาถือจะฉายออกมาทางบุคลิกภาพ ซึ่งรวมถึง ท่าที ความประพฤติ และอุปนิสัย ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี นี้ นั้นมีอยู่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความสุขุมไม่ด่วนตัดสินกันด้วยความวู่วามมีสติปัญญาอยู่ตลอดเวลา มีความสุภาพ พูดจาไพเราะเสนาะหู ฟังแล้วสบายใจ มีความสุจริต ไม่ฉวยโอกาสหาประโยชน์เข้าตัว แต่จะมุ่งทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มกำลังสามารถ เอื้อโอกาสให้คนอื่นเสมอ มีความชัดเจน ไม่กลับกลอง ปลิ้นปล้อน สอพอ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้ท่านนั้น มีความสง่างาม ดูแล้วมีความน่าศรัทธาเชื่อถือนั้นเอง


9. มีความชำนาญในการจัดการ
คือการรู้จักจัดการบริหารการงานอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ เป็นขั้นตอน รู้ลำดับสิ่งไหนสำคัญมาก สิ่งไหนสำคัญรองลงมา
ซึ่งในหัวข้อนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั้นมีอยู่อย่างมาก เพราะท่าน นั้นมีกรอบการจัดการอย่างมาก เพราะท่านได้มี ภาวะผู้นำ อย่างเติมเปี่ยม ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น การกำหนดวิสัยทัศน์ การวางแผน กำหนดกรอบงาน เต็มใจที่จะเสี่ยงมีความเชื่อมั่นตัวเองสูง เอาใจใส่ตามความต้องการของลูกน้อง มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมากและมีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ นั้นเอง