วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคระห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

ในการนี้เราได้สังเกตบุคลิกและพฤติกรรมของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี ว่าท่านมีภาวะผู้นำตามหลักทฤษฎีภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งผู้นำนั้นควรมีพฤติกรรมทั้ง 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์
2. วางแผน
3. กำหนดกรอบงาน
4. เต็มใจที่จะเสียง
5. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
6. เอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้อง
7. มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมาก
8. มีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ
9. มีความชำนาญ

ซึ่งที่กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของท่าน มหาวุฒิชัย วชิรเมธี นั้นได้มีครบหมดทั้ง 9 ข้อเลย กล่าวคือ

1. กำหนดวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ คือการมองภาพอนาคต และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้แสดงออกมา อย่างเห็นได้ชัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการว่างแผน เพื่อนำไปสู่ จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ ในอนาคต อาธิเช่น ที่ท่านบอกว่า ท่านจะมุ่งหน้าเรียน อย่างจริงจัง จนถึงอายุ 30 ปีเป็นต้น


2. วางแผน
การวางแผนเป็นการพิจารณาและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันและ เป็นการคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ซึ่งในส่วนนี้ท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ท่านได้แสดงออกมาให้เราเห็นอย่างชัดเจน ในการวางแผนการดำเนินชีวิตของท่าน จะเห็นได้ว่าท่านได้สอน ให้เรานั้นรู้จักวางแผนโดยให้เรารู้จักรู้ที่ต้องรู้ รู้ที่ควรรู้ แล้วก็รู้ไว้ใช่ว่า แล้วดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย นั้นเอง


3. กำหนดกรอบงาน
คือการวางขอบเขตของการทำงาน หรือการทำภารกิจสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยมี การจัดการลำดับอย่างชัดเจน เช่น ความกว้างของเนื้อหา
ซึ่งท่านก็ได้กำหนดกรอบงานของท่านอาทิเช่น ท่านมักกล่าวไว้ว่า “คนเราไม่จำเป็นจะต้องรู้ทุกเรื่อง คนเราควรรู้ลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วรู้อื่นแบบพอรู้คือแบบรู้ไว้ใช่ว่า” ซึ่งนี่ก็เป็นแบบการกำหนดกรอบงานของท่านนั่นเอง หรืออย่างที่ท่านได้มาเทศน์ในเรื่อง “จิตวิญญาณความเป็นครู” ท่านก็ได้เทศน์โดยมีกรอบงาน หรือกรอบเนื้อหาอย่างชัดเจน


4. เต็มใจที่จะเสี่ยง
การเสี่ยง หมายถึง “โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ภาษาง่าย ๆความเสี่ยง คือ สิ่งต่าง ๆที่อาจกีดกันการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายนั้นเอง
ซึ่งในการนี้ไม่ว่าใครๆ ก็มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งในการที่ท่าน ได้มาเทศน์ครั้งนี้ก็อยู่ในความเสี่ยง คือ เสี่ยงกับการที่จะมีคนเชื่อฟังในสิ่งที่ท่านสอน เสี่ยงต่อการที่บางคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านเทศน์ นั้นเอง แต่เราก็ควรพยายามทำความเสี่ยงนี้ให้น้อยที่สุด โดยใช้ปัญญา


5. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
ความแน่ใจหรือมั่นใจหรือความกล้าที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามที่กำหนดไว้หรือตั้งใจไว้แม้จะมีเหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดมาเป็นอุปสรรค ก็ไม่ท้อถอย แต่ยังคงตั้งใจกระทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ
ซึ่งในส่วนนี้เราก็เห็นอยู่อย่างชัดเจน เพราะหากท่านไม่มีความมั่นใจในตนเองสูง ท่านคงไม่อาจมายืนอยู่ในจุดนี้ได้ ท่านนั้นเป็นคนที่ มีความมั่นใจในตนเองสูงกล้าทีจะตัดสินใจ กล้าที่จะคิด กล้าที่พูด กล้าที่กระทำ มีความมั่นคง มีเหตุผล รอบคอบ มีแผนงาน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ นั้นเอง ที่แสดงให้เห็นว่าท่านนั้นมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง


6. เอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้อง
คือการรู้จักดูแลเอาใจใส่ลูกน้อง มีความเป็นกัลญาณมิตรกับทุกๆ คนที่เป็นลูกน้อง เห็นลูกน้องเปรียบเสมือนญาติคนหนึ่งในครอบครัว ที่มีความเท่าเทียมกัน ให้โอกาส ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ที่รู้จักดูแลบริวารของท่าน อย่างเช่น ตอนนี้ท่านได้สร้างโรงเรียนสงฆ์ เพื่อเป็นสถานศึกษาของสามเณรและพระสงฆ์ ที่ท่านได้ดูแล โดยท่านก็จะหาปัจจัย เพื่อไปพัฒนาโรงเรียน และ สื่อการเรียนการสอนให้เทียบเท่าและทันสมัย กับโรงเรียนที่สอนทางโลกตลอด เพื่อที่จะได้ให้สามเณรและพระสงฆ์ ที่อยู่ในการดูแลของท่านได้รับความรู้อย่างเต็มที่ เหมือนกับผู้ที่เรียนในทางโลก
ซึ่งนี่ก็คือการเอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกน้องที่ท่าน ว.วชิเมธี มี่ต่อสามเณรที่เปรียบเสมือนบริวารของท่าน


7. มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมาก
คือทักษะที่ผู้ส่งต้องมีความสามารถในการเข้ารหัสสาร มีการพูดโดยการใช้ภาษาพูดที่ถูกต้อง ใช้คำพูดที่ชัดเจนฟังง่าย มีการแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่เข้ากับการพูด ท่วงทำนองลีลาในการพูดเป็นจังหวะ น่าฟัง
ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธีนั้น มีอย่างเต็มเปี่ยม เพราะ ท่านเทศน์ ทีไร ก็มีแต่คนสนใจ ฟังแล้วไม่น่าเบื่อ เพื่อแล้ว มีจิตใจที่สามารถคิดตามได้ นั้นเอง


8. มีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ
ความน่าเชื่อศรัทธาถือจะฉายออกมาทางบุคลิกภาพ ซึ่งรวมถึง ท่าที ความประพฤติ และอุปนิสัย ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี นี้ นั้นมีอยู่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความสุขุมไม่ด่วนตัดสินกันด้วยความวู่วามมีสติปัญญาอยู่ตลอดเวลา มีความสุภาพ พูดจาไพเราะเสนาะหู ฟังแล้วสบายใจ มีความสุจริต ไม่ฉวยโอกาสหาประโยชน์เข้าตัว แต่จะมุ่งทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มกำลังสามารถ เอื้อโอกาสให้คนอื่นเสมอ มีความชัดเจน ไม่กลับกลอง ปลิ้นปล้อน สอพอ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้ท่านนั้น มีความสง่างาม ดูแล้วมีความน่าศรัทธาเชื่อถือนั้นเอง


9. มีความชำนาญในการจัดการ
คือการรู้จักจัดการบริหารการงานอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ เป็นขั้นตอน รู้ลำดับสิ่งไหนสำคัญมาก สิ่งไหนสำคัญรองลงมา
ซึ่งในหัวข้อนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั้นมีอยู่อย่างมาก เพราะท่าน นั้นมีกรอบการจัดการอย่างมาก เพราะท่านได้มี ภาวะผู้นำ อย่างเติมเปี่ยม ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น การกำหนดวิสัยทัศน์ การวางแผน กำหนดกรอบงาน เต็มใจที่จะเสี่ยงมีความเชื่อมั่นตัวเองสูง เอาใจใส่ตามความต้องการของลูกน้อง มีทักษะการสื่อสารในระดับดีมากและมีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่น่าศรัทธาเชื่อถือ นั้นเอง

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยคำว่า รสนิยม

วันนี้ผมได้เรียนวิชา ภาวะผู้นำทางการศึกษา แล้วก็ได้ทำกิจกรรมเรียนโดยการนำเสนอ
กลุ่มผมได้ทำการนำเสนอแบบ Blogger ซึ่งมีอยู่กลุ่มเดียวที่นำเสนอเช่นนี้
แต่เรื่องนี้มันไม่ใช่ประเด่น

ประเด่นมันคือ กลุ่มผมได้นำเสนอแล้วพูดเกี่ยวกับรสนิยม ได้มีเพือน ถามถึงเรื่อง รสนิยม
แล้วก็ถามต่อไปว่า ความชอบกับรสนิยม นั้นมันแตกต่างกันหรือไม่ แล้วยังถามต่อไปอีกว่า
ความชอบ กับ รสนิยม มีความแตกต่างกันหรือไม่
ผมเล่ยได้หาข้อมูลมาให้ได้อ่านและคิดกัน ดังต่อไปนี้


แปลภาษา ไทย-อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary

รสนิยม

คำแปล

[n.] taste
[syn.] ความพอใจ,ความชอบ

ตัวอย่างประโยค

รัฐบาลตั้งเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น เพื่อปลอบใจประชาชน

หมายเหตุ

บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ
...............................................................

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

รสนิยม

รสนิยม
ความหมาย

[รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่นเขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.

...............................................................

พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

รสนิยม

คำแปล

[รด-สะ-นิ-ยม, รด-นิ-ยม]น. ความนิยมชมชอบในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเป็นไปตามฐานานุรูปของแต่ละคน เช่น คนมีรสนิยมสูงก็หมายถึงผู้รู้จักนิยมชมชอบของที่ดีแท้, ความเข้าใจในความสวยความงามและคุณสมบัติต่างๆ.

.................................................................

ผมก็พอให้ได้เท่านี้แหละคับ
สุดท้ายผมขอฝากบทความอีกบทความ

๐๑๙ | รสนิยมกับค่านิยม

ในสังคมอันโหดร้ายที่เราเดินท่อมๆดุ่มๆกันทุกวันนี้ (ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะเดิน วิ่ง คลาน ไถ แถ หรืออะไรก็แล้วแต่ ช่างเขาเถอะครับ) มันมีกฎเกณฑ์ของมันอยู่มากมายครับ
จนไม่อาจแน่ใจได้ว่าหากเราไปเหยียบฝาท่อระบายน้ำแถวไนจีเรียแล้วจะผิดกฎหมายหรือไม่ (ที่เมืองไทยไม่ผิดครับ แต่คนส่วนใหญ่จะเลือกไม่เหยียบ เพราะบริเวณฝาท่อระบายน้ำเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม)
ในเมื่อมีหลายสังคมก็ต้องมีหลายกฎเกณฑ์
เราแบ่งประเภทและเรียกชื่อกฎเกณฑ์แต่ละอย่างตามความเท่และลักษณะของมันครับ

หากมันเก๋ามาตั้งแต่รุ่นทวด คนส่วนใหญ่มักเรียกกฎเกณฑ์นี้ว่าจารีตประเพณี ห้ามเปลี่ยนนะว้อย ใครแก้ -- ตาย ! (แก้อะไร ? อ้อ แก้คำผิด ~)
และหากมันเก่าน้อยลงมาหน่อย เรามักจะเรียกมันว่าศีลธรรมจริยธรรม โอเค อันนี้ยังมีผ่อนปรน (ตอนนี้กางเกงเอวต่ำเรื่องธรรมดา)
และถ้าหากมันเพิ่งเกิดมาไม่นาน เราเรียกมันว่ากฎหมาย พอเปลี่ยนนายกกฎหมายก็อาจจะเปลี่ยนได้โดยง่าย
สุดท้ายคือค่านิยม ค่านิยมนี้ค่อยๆเลื่อนไปตามกาลเวลา ซึ่งมันเลื่อนไปเร็วกว่ากฎเกณฑ์ทั้งสามพอตัว และในไม่ช้า กฎเกณฑ์เกือบทั้งสามก็จะวิ่งมาทันค่านิยมเองนั่นแหละ

อะไรเป็นกลไกที่ทำให้มันหมุนล่ะ ?

มันก็คือคนไงครับ (อย่ามาเถียง เทพเจ้าไม่ได้ปั่นกฎเกณฑ์ แต่ปั่นบ -- เอ่อ --)
ค่านิยมใหม่ๆมักเกิดกับวัยรุ่นเสมอ
พอวัยรุ่นโตขึ้น ก็จะทำให้มันกลายเป็นกฎหมายโดยการใช้กันเกร่อ และจริยธรรมโดยการหักดิบ และประเพณีโดยการเลียนแบบของปถุชนคนรุ่นหลัง

แล้วรสนิยม ?
รสนิยมคือ -- ?
ใช่แล้วครับ รสนิยมก็คือความชอบส่วนบุคคลไงล่ะ
บางคนมีรสนิยมชอบฟังเพลงแร็ป อาร์แอนด์บี
บางคนมีรสนิยมชอบเลี้ยงหมาดำๆอ้วนๆตัวใหญ่ๆ
บางคนมีรสนิยมชอบทำแฟลชนับถอยหลังระเบิดเว็บ
บางคนมีรสนิยมชอบดูเว็บโป๊
และอีกหลายๆประการ

รสนิยมของคนแต่คน ส่วนใหญ่ถูกกลืนหายไปกับสังคมค่านิยมครับ
ถึงแม้คุณจะมีรสนิยมชอบเพลงสบายหู แต่สักวันคุณก็อาจจะเปลี่ยนไปชอบการที่มีศิลปินมาตะโกนใส่หูเล่น เพราะเพลงเหล่านั้นถูกเปิดกรอกหูเราบ่อยครั้ง
ถึงแม้คุณจะชอบอ่านนิยายวิทยาศาสตร์คลาสสิก แต่ตอนนี้แผงหนังสือโดนหนังสือที่หน้าปกทำให้คล้ายการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ข้างในเป็นไทย (ยกเว้นชื่อตัวละครไว้บ้าง) และคนแต่งก็ไทย รวมทั้งยังชอบใช้ฟ๐นต์ไอ้แอนนนนนอีก สักวันหนึ่ง อาจจะไม่มีหนังสือประเภทใดให้อ่าน นอกจากหนังสือประเภทนี้ให้อ่านก็ได้

ถึงแม้รสนิยม (ผสมอีโก้) จะเข้มเท่าไหร่ อย่างไรก็ต้องถูกคลื่นซัดจนเจือจางครับ ยกเว้นว่าเจ้าของรสนิยมนั้นจะตายเสียก่อน
บางคนอาจเถียง แต่ผมขี้เกียจเถียงครับ แล้วก็ไม่มีโอกาสเถียงด้วย เพราะการบ้านเยอะฉิบ

................................................................

ขอขอบคุณบทความและความหมายดีๆ ที่ได้ค้นหาจาก
http://reweblog.blogspot.com/2006_05_01_archive.html

http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1/

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความสำคัญทางบุคลิกภาพของผู้นำ

บุคลิกภาพของผู้นำ หรือผู้บริหารมีความสำคัญต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในการบริหารงานเป็นอย่างยิ่ง ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีย่อมได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อการยอมรับเกิดขึ้นการบริหารงานย่อมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เพราะจะได้รับความร่วมมือในทุกๆ ด้าน

พูดก็มีคนฟัง ฟังแล้วก็เชื่อ คล้อยตาม เมื่อมีคำสั่งหรือดำเนินการ ก็ได้รับความร่วมแรงร่วมใจ เจอปัญหาก็พร้อมที่จะช่วยกันแก้ไข แล้วหัวเราะกับความสำเร็จด้วยกันที่เส้นชัย

แต่หากผู้นำมีบุคลิกภาพที่ไม่ได้การยอมรับ เช่น โผงผาง ช่างเถียง หยาบคาย ฟังใครไม่เป็น เวลานั่งประชุม ซึ่งควรจะเป็นผู้ใหญ่ซึ่งจดจ่อใส่ใจต่อการมีส่วนร่วมในที่ประชุม ก็กลับนั่งพับนกพับเรือเล่น อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างที่หาคนมีจิตศรัทธาด้วยยาก เพราะตัวท่านเองก็ดูเหมือนไม่ได้อยากจะมีส่วนร่วมอันใดกับใคร เพียงแต่ทำทุกอย่างตามใจ ตามเหตุผล ตามความคิดหรือความต้องการที่ตนเองเห็นว่าดีแล้วก็เท่านั้น

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้
1. บุคลิกภาพทางกาย
2. บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา
3. บุคลิกภาพทางสังคม
4. บุคลิกภาพทางสติปัญญา

บุคคลธรรมดาๆ จะได้รับความคาดหวังเพียงระดับหนึ่ง แต่บุคคลระดับนำ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้นำจริงๆ นั้น จะถูกคาดหวังในเรื่องบุคลิกภาพที่ดีเป็นอย่างมาก และมักจะถูกตำหนิได้ง่ายๆ จึงต้องระมัดระวัง ใส่ใจ ต่อทุกๆ การพูด คิด ทำ สั่ง แสดงออก ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิริยาอาการ การกระทำ หรือความเคลื่อนไหวที่อยู่ในความสนใจ และการจับตามองของคนอื่นทั้งสิ้น

บุคลิกภาพทางกาย

แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ

ประการแรก คือ รูปลักษณ์ภายนอกของผู้บริหารเป็นประการแรกที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ความสะอาดของร่างกายเป็นความสำคัญอันดับแรก การแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ มีความสำคัญอันดับต่อมา สองสิ่งนี้ประกอบกันเข้าเป็นบุคลิกภาพภายนอกของบุคคลนั้นๆ

บุคลิกภาพส่วนนี้ จะเป็นตัวสื่อสารให้บุคคลที่พบเห็นรู้จักท่านในเรื่องต่างๆ คือ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ฐานะทางเศรษฐกิจ ชนชั้นในสังคม จากสายตาของเขาเอง โดยไม่ต้องใช้ภาษาพูด

ด้านวิชาการบางท่านเรียกสิ่งนี้ว่า การสื่อสารที่ไร้ศัพท์ ผู้บริหารที่ขาดการใส่การสื่อสารที่ไร้ศัพท์นี้ อาจจะสื่อสารให้ผู้พบเห็นเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของท่านผิดไปจากความจริงได้

ประการที่สองคือ บุคลิกภาพภายใน ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพูดการโต้ตอบที่ดี มีความฉลาดแหลมคมในการสนทนา เป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการตอบโต้อย่างแหลมคมได้ ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องอ่านหนังสืออยู่เสมอจะได้ทันสมัย และไวต่อการสื่อสารทางภาษาพูดอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบย่อยสองประการนี้รวมกันเป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพทางกายของผู้บริหาร ที่จะก่อให้เกิดการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา

บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา

ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีต้องเป็นผู้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียว บ่นว่าตลอดเวลา มีความกล้าหาญในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักชมเชย พูดจาโน้มน้าวจูงใจคนให้ทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน สังคม หรือประเทศชาติได้ และมีจิตใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี ต้องรักษาอารมณ์ได้ ทนต่อความกดดัน เหนื่อยล้า ทนเสียงต่อว่าและความว้าเหว่ได้มากกว่าผู้อื่น ทั้งต้องระงับความโกรธได้อย่างรวดเร็ว มีเมตตาธรรมและความสงบสันติอยู่ในใจอย่างเปี่ยมล้น เห็นคนทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เห็นใครก็มองเป็นศัตรูผู้รุกรานไปเสียทั้งหมด

บุคลิกภาพทางสังคม

ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่างๆ ตามบรรทัดฐาน (Norms) ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้

บุคลิกภาพทางสติปัญญา

ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำกลุ่ม สามารถคิดสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาได้ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าสติปัญญาและความรอบรู้ในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหาร
องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของบุคลิกภาพที่ดีของผู้บริหารนั้น นับได้ว่าทุกด้านมีความสำคัญเท่าเทียมกันสมควรที่ผู้บริหารควรตระหนัก หมั่นฝึกฝนจนเป็นภาพลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาของคนทั่วไป เพราะนั่นคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับนับถือ อันจะส่งผลถึงการร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพที่ดีของผู้นำหรือบริหาร แม้จะไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตั้งแต่ดั้งแต่เดิม แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้
ทำนองเดียวกันไม่มีใครสามารถสร้างบุคลิกภาพที่แย่ให้แก่ผู้นำ หรือบริหารได้ นอกจากตัวผู้นำหรือผู้บริหารเอง!!

บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2505 ให้ความหมายของคำว่า ”บุคลิกภาพ” หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคนบุคลิกภาพมาจากคำภาษาอังกฤษ “ Personality“ แปลได้คือ “ความเป็นเฉพาะคน” ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีก คือ “Persona” หมายถึง “หน้ากาก” คือ ไม่ใช่หน้าอันแท้จริงหมายความว่าคนเรานั้นสวมหน้ากากเข้าหากันเข้ากันไม่ได้แสดงหน้าอันแท้จริงของตน (เปลื้อง ณ นคร, 2515)

คาทเทลล์ (cattell.R.B.) หึความหมายไว้ว่า บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ทำพฤติกรรม หากตกไปอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของบุคคล รวมทั้งการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม

การ์ดอน อัลพอร์ต (1961: 28) กล่าวไว้ว่าบุคลิกภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นตัวกำหนดการแสดงอุปนิสัยและความนึกคิดของบุคคลนั้น ๆ ในการที่จะปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่ในที่นี้ใคร่ขอให้ความหมายของบุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งด้านรูปร่างหน้าตา ท่าทางถ้อยทีวาจา อุปนิสัยใจคอ อารมณ์ และการแสดงออกที่ปรากฏแก่สายตาของบุคคลอื่น ซึ่งมีความสำคัญต่อบุคคลนั้น ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน และในสังคมทั่วไป

บุคลิกภาพของบุคคลสามารถแสดงให้เห็นได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

1. ลักษณะบุคลิกภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้แยกเป็น

1.1 ลักษณะที่ตกทอดมา หรือที่เรียกว่าเป็นมรดกทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ปู่ย่า ตายาย ติด
ตัวมา อันได้แก่ รูปร่างหน้าตา ท่าทีที่คล้ายคลึงกับพ่อแม่ หรือปู่ย่า ตายาย เข้าทำนอง
“ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

1.2 รูปร่างลักษณะ เช่น ความสูง ความเตี้ย ผิวขาว ผิวดำ ตัวเล็ก ตัวใหญ่ หน้ากลม หนายาว
เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ยาก แม้จะสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้บ้างก็พียงเล็กน้อย
เท่านั้น

1.3 การอบรมเลี้ยงดูในขณะเยาว์วัย การอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับมาในขณะเยาว์วัยจาก
บุคคลใด ย่อมมีแนวโน้มในการที่เด็กจะรับลักษณะบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยจากบุคคล
นั้น ๆ มาด้วย

2. ลักษณะบุคลิกภาพที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

2.1 ลักษณะท่าทางซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากฝึกฝนวิธีที่ถูกต้อง

2.2 ด้อยคำ การพูด การเจรจา

2.3 พฤติกรรม หรือ การกระทำ และ

2.4 การตบแต่งร่างกาย

แนวความคิดทางบุคลิกภาพ

ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรียนที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพแระกอบด้วย 3 ระบบ คือ “ Id” , “Ego” และ “Superego” ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้จะเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด การแสดงพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์จะเป็นผลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในระหว่างสามระบบดังกล่าว

Id เป็นแหล่งรวมแรงขับ แรงกระตุ้น ความปรารถนา และสัญชาติญาณทั้งหลาย เป็นแหล่งสะสมพลังทางจิตใจ ”Id” จะไม่สามารถอดกลั้นหรือทนต่ออารมณ์ที่ปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้น หรือเพิ่มขึ้นในขณะนั้นได้ และเมื่อใดที่ระดับความปรารถนา หรือความไม่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นจากสิ่งเร้าภายนอกหรือสิ่งเร้าภายในที่มากระตุ้นก็ตาม Id จะตอบโต้ทันทีเป็นการปลดปล่อยความเครียดเพื่อให้สภาพจิตใจกลับเข้าสู่ความสบายใจ ความพอใจ ในสภาพปกติ โดยสรุป Id จะแสวงความสุขความพอใจโดยปราศจากขอบเขตใด ๆ ทั้งสิ้น มนุษย์มี Id ติดตัวมาแต่กำเนิด

Ego เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่สนองความต้องการของ Id โดยยึดเหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นหลัก นอกจากนี้ Ego ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางจัดการระหว่างความต้องการที่ไร้เหตุผลของ Id กับสภาพความจริงของโลกภายนอก Ego จะเป็นตัวเหนี่ยวรั้ง Id

Superego คือส่วนคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันดีงามที่มนุษย์ได้รับการปลูกฝังมาจากการอบรมสั่งสอน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา การทำงานทั้ง 3 ระบบ จะเกี่ยวข้องกัน บางครั้งจะสอดคล้องกัน บางครั้งขัดแย้งกัน Ego จึงเปรียบเสมือนัวกลางสนองความต้องการของพลังความต้องการโดยธรรมชาติของมนุษย์ และควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ให้อยู่ในขอบเขตการยอมรับของสังคมนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพ จะถูกมองเป็นภาพรวมมากกว่าที่จะถูกมองแยกส่วน โดยมี Id เป็นองค์ประกอบทางร่างกา Ego เป็นองค์ประกอบด้านจิตใจ และ Superego เป็นองค์ประกอบทางสังคม ในบางครั้ง 3 ระบบจะขัดแย้งกัน หรือสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งในจิตใจ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล แต่ธรรมชาติจะช่วยให้มนุษย์ลดความวิตกกังวลลงได้ โดยผ่านกลไกป้องกันทางจิต อันเป็นกลไก โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่จะช่วยคลายความวิตกกังวลและความเครียดลง หากพลังทั้งสามขัดแย้งกันมาก ๆ อาจแสดงออกในรูปการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือการมีพฤติกรรมแปรปรวนต่าง ๆได้

คาร์ล จี จุง (Carl,G,Jung) นักจิตวิทยาบุคลิกภาพที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง แยกประเภทบุคลิกภาพเป็น 2 ประเภท คือ

1. บุคลิกภาพประเภทชอบสังคม หรือชอบแสดงตน บุคคลที่มึกบุคลิกภาพประเภทนี้จะเป็นผู้ที่คล่องแคล่ว วิ่งไวอยู่ตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเด่น ชอบแสดงตนเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นตัวของตัวเอง ชอบการเป็นผู้นำ ยอมรับสภาพความจริง มองโลกในแง่ดี กล้าแสดงออก เปิดเผยไม่เก็บตัว ชอบพูดคุย ชอบร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ชอบงานสังคม คิดอะไรจะแสดงออก มีเพื่อนมาก และชอบการเป็นผู้นำ เมื่อเผชิญกับปัญหาจะใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการสู้ปัญหา หรือกล้าเผชิญกับปัญหา

2. บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว ลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบแสดงตน ชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว คิดมาก รับไม่ได้หากถูกวิจารณ์ คิดอะไรจะเก็บไว้คนเดียวไม่ชอบพูดคุย ส่วนใหญ่เป็นคนยึดมั่นในกฎเกณฑ์กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อใช้ควบคุมตนเอง การกระทำกิจกรรมใด ๆ ขึ้นอยู่กับตนเองเป็นหลัก จะผูกพันใกล้ชิด หรือกับตนเองมากกว่าที่จะผูกพันกับสังคม มีเพื่อนน้อย ไม่ชอบการเป็นผู้นำ

อัลเฟรด อัตเลอร์ (Alfred Adler) นักจิวิทยาบุคลิกภาพชาวออสเตรียน ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง เชื่อ
ว่าอิทธิพลทางสังคมจะมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเป็นเช่นใดขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางสังคมรอบตัวบุคคลนั้น อันได้แก่ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับจากครอบครัว การที่บุคคลพัฒนาปรับปรุงตัวเองหรือต้องการขวนขวายสร้าง หรือดิ้นรนไปหาสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตนั้น เป็นการแสวงหาความสมบูรณ์ให้กับชีวิตของบุคคลเอง และเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย คือ ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตแล้ว จะเกิดความแตกต่างจากบบุคคลอื่น คือจะมีความเป็นตัวของตัวเองขึ้น มีความเข้าใจ และยอมรับตัวเอง การดิ้นรนไปสู่สิ่งที่ดีที่สุในชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมุ่งมั่นปรารถนา อัตเลอร์ยังได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล อัตเลอร์ เชื่อว่าแรงกระตุ้นให้มนุษย์ก้าวไปสู่การมีพฤติกรรมด้านบวกในสังคม การที่จะกระตุ้นเพื่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องได้รับการอุ้มชูเลี้ยงดูมาอย่างดีตั้งแต่ในวัยเด็ก บรรยากาศของครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความมีใจกว้าง การยอมรับสังคมขึ้น หากขาดจะก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านสังคม เกิดความต้องการแสดงอำนาจเหนือหรือมีความก้าวร้าวต่อบุคคลอื่น และสิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว ขาดความมีจิตสำนึกต่อสังคมในอนาคตซึ่งถือว่าเป็นอาการของความผิดปกติทางบุคลิกภาพประเภทหนึ่ง

สรุป บุคลิกภาพมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ต่ออาชีพการงาน ของบุคคล หากบุคคลใดที่เติบโตมาในครอบครัวที่บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่น มีความเข้าใจความต้องการของลูกในแต่ละวัย และช่วยส่งเสริมการพัฒนาในแต่ละขั้นพัฒนาไปได้ด้วยดี ก็จะมีผลทำให้บุคคลนั้นเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิต ที่ดี มีความมั่นใจในตนเองเป็นผู้ที่มีเหตุผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มองโลกในแง่ดี ในทางตรงข้าม หากบุคคลนั้นเติบโตมาในครอบครัวที่บิดามารดาไม่มีเวลาใกล้ชิดลูก ไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เห็นความสำคัญของการช่วยส่งเสริม ภาระตามขั้นพัฒนาในแต่ละวัยแล่วจะทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นผู้ที่มีปัญหา มีความก้าวร้าว ขาดความเชื่อมั่น ขาดเหตุผล เห็นแก่ตัว เห็นแต่ประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของบุคลิกภาพอันมีผลมาจากการได้รับการอบรมปลูกฝังมาตั้งแต่เยาว์วัยแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังเสริมสร้างบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยอันดีงามลงไว้ตั้งแต่ในวัยเด็ก บุคคลผู้รับผิดชอบก็คือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วเด็กจะเริ่มรับการขัดเกลาทางสังคม รับการปลูกฝังมาตั้งแต่แรกเกิด และช่วงที่สำคัญยิ่งของการขัดเกลาทางสังคมอยู่ในช่วงวัย 0-5 ปี เด็กจะค่อย ๆ พัฒนาความเข้าใจในนามธรรม และยอมรับค่านิยมต่าง ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กเริ่มเติบโตขึ้น ค่านิยมพื้นฐานที่เด็กได้รับการปลูกฝังมานี้จะเป็นกรอบมาตรฐานสำหรับตัวเด็กเองที่ยึดเป็นแนวประกอบการตัดสินเลือกค่านิยมที่เป็นนามธรรมที่สูงขึ้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้น “วัย” จะช่วยสร้างและปรุงแต่งบุคลิกภาพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะพยายามแสวงหาตนเอง เป็นตัวของตัวเองสร้างค่านิยมของตัวเองขึ้น และสร้างบุคลิกภาพของตนเองขึ้น เด็กเริ่มต้องการอิสระจากครอบครัว ชีวิตจะเกี่ยวข้องกับเพื่อนฝูงโดยเฉพาะ “กลุ่มเพื่อน” และเพื่อนต่างเพศและในที่สุดก็จะมีคู่ชีวิตของตนเอง

เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของบุคลิกภาพมาพอสมควรแล้ว ใคร่จะขอกล่าวต่อไปถึงเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ หรือภาวการณ์เป็นผู้นำ

ที่มา: www.prdnorth.in.th/transparency/docs/IQ_MQ.doc

ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการในองค์การของรัฐส่วนใหญ่จะเรียก "ผู้นำหรือผู้บริหาร" ส่วนองค์การธุรกิจนิยมเรียก "ผู้จัดการ" (Management) ได้มีการศึกษาลักษณะของ "ผู้นำ" (Leaders)
และ "ผู้จัดการ" (Managers) มานานแล้ว และพบว่าบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันหลายด้านเช่น แรงจูงใจ ความเป็นมา วิธีคิด และการปฏิบัติงาน


ดังที่นักศึกษาวิจัยสรุปไว้ดังต่อไปนี้ เบนนิส และนานัส (Bennis and Nanus, 1985 : 21) ได้สรุปว่า
"ผู้จัดการคือ บุคคลที่ทำให้งานสำเร็จ ส่วนผู้นำคือ บุคคลที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูก
managers are people who do things right
and leaders are people who do the right things"

หมายความว่า ผู้จัดการ คือ บุคคลที่สนใจแต่จะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ โดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใดต่างจากผู้นำที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของงานรวมทั้งผลกระทบต่อบุคลากรและองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด

รอบบินส ์ (Robbins, 1989 : 303) ได้อ้างถึงการศึกษาของซาเลสนิค (Zalesnik, 1986 : 54)
และสรุปความแตกต่างของบุคคลสองกลุ่มไว้ดังนี้

1. ผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะยอมรับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์การ โดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวไปพิจารณา หรือเกี่ยวข้องด้วย ในขณะที่ผู้นำจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณาเป้าหมายขององค์การก่อนที่จะปฏิบัติตาม

2. ผู้จัดการจะมองการทำงานว่าเป็นกระบวนการความสามารถ ที่ประกอบไปด้วยคนและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรวิธีการทำงานและตัดสินใจที่ดีที่สุดในขณะที่ผู้นำ ทำงานในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง ต้องพยายามไม่ใช้อารมณ์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจจะเกิดกับตนเอง โดยเฉพาะผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งที่มีโอกาส และสิ่งตอบแทนค่อนข้างสูง

3. ผู้จัดการชอบที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นมากกว่าการทำงานใด ๆ ด้วยตนเอง คนเดียว เพราะไม่ต้องการมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับงานนั้น ผู้จัดการจะมีความสัมพันธ์เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการตัดสินใจต่างกับผู้นำที่งานมักจะเกี่ยวข้องกับความคิดมากกว่าคน แต่ถ้ามีความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ก็จะมีโดยสามัญสำนึก และพยายามจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของบุคคลเหล่านั้นด้วย

4. ผู้จัดการต้องการคำสั่งหรือคำชี้แนะที่ชัดเจน เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจ หรือ เหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้นำมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจ ได้ โดยไม่ห่วงกังวลว่าจะกระทบต่อบุคคลรอบข้างมากนัก

แฮนสัน (Hanson, 1985 : 178) ได้กล่าวว่า คำว่า ผู้นำ (Leader) ผู้จัดการ (Manger) และผู้บริหาร (Administrator) ได้มีการใช้แทนกันตลอดเวลา แม้นว่าจะยอมรับว่ามีความแตกต่าง ผู้จัดการและผู้บริหารค่อนข้างจะมีความหมายใกล้เคียงกัน แม้นว่าในอดีตที่ผ่านมา ผู้จัดการดูจะมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้บริหาร ซึ่งมักปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นงานประจำมากกว่า แฮนสันได้เน้นให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำนั้นอย่างน้อยจะมี 2 ทางคือ

ผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์การว่าจะไปทิศทางใด และจะต้องใช้ความสามารถในการชักจูง ทำให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่ต้องการจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ผู้จัดการเพียงแต่ให้ความสนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การว่าจ้าง การประเมินบุคลากรการจัดสรรทรัพยากรการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานและอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จ สรุปว่ามุ่งสนใจปฏิบัติงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงแม้นว่าคำว่า ผู้นำ ผู้จัดการ ผู้บริหารจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็นิยมที่จะใช้แทนกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวพันถึงองค์การที่เขาบริหารอยู่ดีขึ้นรวมทั้งหนังสือเล่มนี้ด้วย ผู้เขียนก็จะใช้แทนกันในบางกรณี เพื่อความเข้าใจดังกล่าว


ที่มา http://www.nrru.ac.th/article/leadership/page1.2.html

ความหมายของผู้นำ และ ภาวะผู้นำ

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การ

เพื่อให้เข้าใจภาวะผู้นำ (Leadership) และผู้นำ (Leader) ดีขึ้น จึงเสนอความหมายของผู้นำ (Leader) ไว้ดังนี้

ผู้นำ คือ บุคคลที่มีความ สามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการ
ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (McFarland,1979:214-215)
ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ (Huse, 1978:227) ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตาม (Yukl, 1989:3-4)
ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

กวี วงศ์พุฒ (2535: 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
(1) ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง
(2) ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
(3) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
(4) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
(5) ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ

บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง
(1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
(2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ
(3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

สรุปได้ว่า ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง คณบดี


ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง
ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
ความหมายของภาวะผู้นำ ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่ง
ยุคล์ (Yukl, 1989 : 3) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ความหมายของภาวะผู้นำมีหลากหลายและแตกต่างกัน ก็เนื่องจากขอบเขตเนื้อหาและความสนใจในภาวะผู้นำ ในการศึกษาของนักวิจัยแตกต่างกัน ในที่นี้จึงขอนำเสนอให้ศึกษาดังต่อไปนี้
๏ ภาวะผู้นำคือความริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม
(Stogdill, 1974:411)
๏ ภาวะผู้นำคือความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้
(McFarland, 1979:303)
๏ ภาวะผู้นำคือศิลปในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ
(Schwartz, 1980:491)
ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของกลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ
(Mitchell and Larson, Jr., 1987:435)
๏ ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้เขามีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม
(Koontz and Weihrich, 1988:437)
๏ ภาวะผู้นำเป็นความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมายหมายที่ตั้งไว้ (Robbins, 1989:302)
๏ ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการชี้แนะและอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม
(Stoner and Freeman, 1989:459)
๏ ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น
(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง
(พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196)

จากการวิเคราะห์ความหมายของภาวะผู้นำข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติ

สำหรับความหมายของภาวะผู้นำเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้นำ (Leader)พยายามจะมีอิทธิพลต่อผู้ตาม (Followers) ในกลุ่มหรือบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้มีทัศนคติ พฤติกรรม และอื่น ๆ ไปในทิศทางที่ทำให้จุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย

สืบค้นจาก http://www.nrru.ac.th/article/leadership/page1.1.html

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียนกับอาจารย์ ฉันทนา เนื่องจากสัปดาห์ ที่แล้ว ที่เป็นสัปดาห์แรก อาจารย์ยังไม่มาสอน
เมื่อมาเจอ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องทำการทักทาย ทำความรู้จัก

จากนั้นก็เริ่มการเข้าสู่เนื่อหา อาจารย์ได้พูดถึงการก้าวไปสู่ ครูชำนาญการ/ครูชำนาญการพิเศษ
เพื่อเกี่ยวเนื่องจากการจะได้รับขั้นพวกนี้ เรานั้นต้องมีภาวะความเป็นยผู้นำ

แล้วพูดถึงการที่จะเป็นผู้นำ นั้น จะต้อง มีสมรรถนะที่ดี
สมรรถนะนั้นหมายถึง การมีความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
ซึ่ง คำว่า สมรรถนะ นี้ มีความหมายของภาษาอังกฤษ ว่า Compentence/competency

เมื่อผมกลับมา ผมได้หาความหมายของ competency ซึ่งได้ความหมายว่า


Competency หรือเรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น
Core Competency คือ คุณลักษณะที่ทุกคนในองค์การพึงมี กำหนดโดยการวิเคราะห์ค่านิยม วัฒนธรรมองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเสริมรับกับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของการดำเนินงาน
Functional competency คือคุณลักษณะที่บุคคลพึงมีในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่หนึ่งๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จ แบ่งเป็น common Functional competency คือสมรรถนะในการปฏิบัติงานในกลุ่มงานหนึ่งๆ และ specific functional competency คือสมรรถนะในการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานเฉพาะ
ทำไมต้องกำหนดและประเมิน competency
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความสามารถตามมาตรฐานตำแหน่งงานตามวุฒิการศึกษา หรือตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้ดี รวมทั้งอาจไม่ตอบสนองต่อภาวะการอยู่รอดขององค์กรในสถานการณ์การแข่งขันที่องค์กรต้องเผชิญ จึงต้องมีการกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จะทำให้ปฏิบัติงานได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และตอบสนองต่อทิศทางที่องค์กรมุ่งหวัง

วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการกำหนดและประเมิน competency
เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ (เป็นวัตถุประสงค์หลักของภาควิชาฯ)
เป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่ขั้นตอนปฏิบัติ
มีเกณฑ์มาตรฐานการวัดผลอย่างเป็นระบบ
เพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกและคัดสรรบุคลากรที่ดีและเหมาะสม
เป็นเกณฑ์ในการวัดจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร

แล้วอาจารย์ก็บอกอีกว่า competency แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่เราสามารถมองเห็นได้ เช่นทักษะ ความรู้
อีกส่วนคือส่วนที่มองไม่เห็น แต่สาราถรรับรู้ได้ด้วยจิตใจ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ ลักษณะเฉพาะ แรงขับ เป็นต้น

ส่วน competencies ของผู้นำที่ควรจะมี คือ
1 ความคิดริ่เริ่ม
2 การทำงานเป็นทีม
3 การจูงใจ
4 การสื่อสาร
5 การวิเคราะห์
6 ความอดทนต่อสภาพความถนัด
นั้นเอง